เลือดของมนุษย์และสัตว์โดยทั่วไปนั้นมีสีแดง ถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติใครก็รู้กันทั้งนั้น แต่ยังมีข้อยกเว้นสำหรับสัตว์บางชนิดอยู่ที่มีสีเลือดไม่เหมือนพวกเรา เช่น แมงมุม แมงดาทะเล หรือสัตว์ขาปล้องบางชนิด พวกนี้จะถูกจัดไว้ในกลุ่มสัตว์ที่มีเลือดเป็นสีน้ำเงิน เนื่องจากมีทองแดงหรือคอปเปอร์ (Cu) อยู่ในฮีโมไซยานิน (Hemocyanin) ในเลือดของพวกมัน และนี่เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดเป็นสีน้ำเงินนั้นเอง แล้วทำไมเลือดของเราถึงมีสีแดงกันล่ะ?
ทำไมเลือดถึงเป็นสีแดง
เลือดมีสีแดงเนื่องจากประกอบด้วยเซลล์ที่มีสีแดงซึ่งเรียกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมเซลล์เหล่านี้ถึงมีสีแดง คุณต้องศึกษาในระดับโมเลกุล ภายในเม็ดเลือดแดงมีโปรตีนที่เรียกว่าฮีโมโกลบิน โปรตีนฮีโมโกลบินแต่ละตัวประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า ฮีมส์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เลือดมีสีแดง
ธาตุเหล็กทำให้เลือดของเราเป็นสีแดง
ฮีมส์ที่อยู่ในโปรตีนฮีโมโกลบินสามารถจับโมเลกุลของเหล็กได้ โมเลกุลของเหล็กเหล่านี้จะจับกับออกซิเจนที่ร่างกายของเราเป็นคนสูดมันเข้ามาผ่านการหายใจ เม็ดเลือดมีสีแดงเนื่องจากการทำงานร่วมกันระหว่างธาตุเหล็กและออกซิเจน เมื่อเลือดไหลผ่านปอดเลือดจะรับออกซิเจนและเลือดจะพาออกซิเจนนี้ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จนกว่าออกซิเจนจะถูกใช้จนหมด เลือดถึงกลับสู่ปอดเพื่อรับออกซิเจนมาหมุนเวียนอย่างเป็นระบบอีกครั้ง ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่สำคัญและซับซ้อนอย่างมากของร่างกาย การที่เลือดเรายังมีสีแดงนั่นก็เท่ากับว่าร่างกายของเรายังสมบูรณ์ดีอยู่นั่นเอง